100
วิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
1.
ใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู
เราใช้กระดาษทิชชูเช็ดมือ เช็ดหน้า ปีละหลายล้านฟุต ซึ่งหมายถึง
การโค่นต้นไม้ลงจำนวนมหาศาล
ช่วยกันลดการใช้กระดาษทิชชูด้วยการวางผ้ามือไว้ใกล้อ่างล้างมือ
แล้วใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนการใช้กระดาษทิชชูเช็ด
2.
ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
ประหยัดถุงพลาสติกได้โดยการใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หากถุงพลาสติกสกปรก
ก็ให้ทำความสะอาดแล้วแขวนไว้ให้แห้ง เพื่อส่งกลับเข้าโรงงานสำหรับผลิตใหม่
3.
แยกทิ้งเศษกระดาษจากขยะอื่น
โปรดหลีกเลี่ยงการทิ้งเศษกระดาษลงในถังกับขยะอื่น ๆ
เพราะจะทำให้กระดาษเปรอะเปื้อนไขมัน
และเศษอาหารจะทำให้เศษกระดาษนั้นนำไปผลิตใหม่อีกไม่ได้
4.
กระดาษที่นำไปรีไซเคิลไม่ได้
กระดาษที่ไม่สามารถนำไปเข้ากระบวนการผลิตใหม่เป็นกระดาษใช้ได้อีก
ได้แก่ กระดาษที่เคลือบด้วยขี้ผึ้ง
กระดาษที่เข้าเล่มด้วยกรรมวิธีการละลายโดยใช้ความร้อน เช่น สมุดโทรศัพท์
นิตยสารต่าง ๆ ตลอดจนกระดาษที่ถูกเปรอะเปื้อนด้วยการชนิดที่ไม่ละลายน้ำ
5.
หนังสือพิมพ์สามารถแก้ไขปัญหา ขยะกระดาษ
แหล่งสร้างขยะกระดาษที่สำคัญก็คือหนังสือพิมพ์
หน้าที่เป็นขยะกระดาษโดย ผู้อ่านไม่ได้อ่าน ก็คือหน้าโฆษณาธุรกิจ
ซึ่งมีอยู่ฉบับละหลาย ๆ หน้า ซึ่งแม้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหนังสือพิมพ์ แต่
ควรคำนึงว่า นั่นคือ การทำลายกระดาษสะอาด
และสร้างขยะกระดาษให้เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน
6.
เศษหญ้ามีประโยชน์
เศษหญ้าที่ถูกทิ้งอยู่บนสนามนั้น
สามารถให้ประโยชน์ต่อสนามหญ้าได้มาก เพราะในเศษหญ้านั้น มีธาตุอาหาร ที่มีคุณค่าเทียบเท่ากับปุ๋ย
ที่ใช้ใส่หญ้าทีเดียว
7.
วิธีตัดกิ่งไม้
วิธีการตัดกิ่งก้านของต้นไม้ ไม้พุ่มใบไม้
ควรตัดให้เป็นเศษเล็กเศษน้อย เพื่อช่วยลดเศษขยะให้กับสวนได้
และทั้งยังช่วยให้เกิดการเน่าเปื่อยขึ้นกับเศษใบไม้นั้นเร็วขึ้นด้วย
8.
ใช้เศษหญ้าคลุมไม้ใหญ่
เศษหญ้าที่ตัดจากสนามและสวนนั้น สามารถนำไปคลุมต้นไม้ใหญ่ได้
การใช้เศษหญ้าปกคลุมพืชในสวนจะช่วยในการกำจัดวัชพืชได้เพราะวัชพืช
จะไม่สามารถแทงลำต้นผ่านเศษหญ้าได้
นอกจากนี้เมล็ดของวัชพืชที่ร่วงหล่นก็ไม่อาจหยั่งรากทะลุผ่านเศษใบไม้ได้ด้วย
9.
ประโยชน์ของพลาสติกช่วยถนอมอาหาร
พลาสติกทุกชนิดหากถูกไฟไหม้
จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตราย ได้มีการรณรงค์ให้เลิกใช้พลาสติก แต่จริง
ๆ แล้ว พลาสติกยังคงมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันโดยเฉพาะพลาสติก
มีประโยชน์ในการถนอมอาหารให้สดอยู่ได้ เป็นเวลานาน ๆ
10.
พลาสติกรีไซเคิล
ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 200 แห่ง
ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกได้ทำการรีไซเคิลพลาสติก จำนวน 20% จากขวดเครื่องดื่ม พลาสติกที่ทำจาก Polyethylene Terephthalate หรือ PET จะถูกนำไปรีไซเคิล เป็นด้ามเครื่องจับไฟฟ้า
กระเบื้องปูพื้น เส้นใยสังเคราะห์ในหมอน ถุงนอน หรือใช้บุเสื้อแจ็คเก็ต
11.
พลาสติกรีไซเคิล (2)
ภาชนะพลาสติกที่ใส่น้ำผลไม้และนมนั้นทำมาจากพลาสติกชนิด Polyethylene
ที่มีความเข้มข้นมากเมื่อใช้แล้วได้ถูกนำมารีไซเคิลทำเป็นท่อพลาสติก
กระถางต้นไม้ เก้าอี้พลาสติก
12.
วิธีเก็บขวดแก้วที่ใช้แล้ว
ขวดแก้วทุกชนิดที่บรรจุของเมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และแยกชนิดของแก้ว
และแยกสีของแก้วด้วย
13.
วิธีเก็บกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้ว
นำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาบี้ให้แบนก่อนทิ้ง
หรือขายแก่คนรับซื้อเศษโลหะ
14.
น้ำสะอาดมาจากน้ำใต้ดิน
น้ำสะอาดที่เราใช้ประโยชน์ดื่มกิน ส่วนใหญ่ มาจากน้ำใต้ดิน
การทิ้งขยะบนพื้นผิวดินทำให้มีผลถึงน้ำใต้ดิน
เพราะน้ำฝนจะชะความเป็นพิษและความโสโครกให้ซึมลงไปถึงชั้นน้ำใต้ดินทำให้น้ำใต้ดินเน่าเสียและเป็นพิษได้
15.
วิธีล้างรถยนต์
ล้างรถยนต์ด้วย ฟองน้ำ และใช้ถังน้ำจะใช้น้ำเพียง 15 แกลลอน แต่ถ้าล้างด้วยสายยางจะต้องสูญเสียน้ำถึง 150 แกลลอน
16.
ดูแลรักษารถด้วยการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
การดูแลรักษารถจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอได้แก่ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือและทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
ควรเปลี่ยนไส้กรองด้วย
17.
รักษารถ ด้วยการเปลี่ยนไส้กรอง
ไส้กรองอากาศที่สกปรก จะทำให้การไหลของอากาศที่สะอาดทำได้น้อยลง
มีผลต่อการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ด้วย
18.
รักษารถ ช่วยลดมลพิษ
การดูแลรักษารถจะทำให้รถสามารถวิ่งได้เพิ่มขึ้นอีก 10% ของจำนวนไมล์ ซึ่งเท่ากับสามารถลดราคาเชื้อเพลิงลงได้ถึง 10% เช่นกัน
การลดการใช้เชื้อเพลิงลงก็เท่ากับเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศให้กับโลกได้ด้วย
19.
ยางรถยนต์ ช่วยประหยัดน้ำมัน
การเติมลมยางรถ ให้พอดีและขับรถตามข้อกำหนดความเร็ว
จะช่วยในการประหยัดน้ำมันได้
20.
วิธีป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเครื่อง
การป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเครื่องจากตัวถังรถยนต์
สามารถทำได้ด้วยการปิดสลักเกลียวในเครื่องยนต์ทุกตัวให้แน่น
โดยเฉพาะในส่วนที่ซึ่งน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกไปได้
ช่วยป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเพื่อลดมลพิษให้กับอากาศของเรา
21.
ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่
ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อขับรถได้ทุก ๆ ระยะ 3,000-4,000
ไมล์ และควรเลือกใช้ไส้กรองที่ดีที่สุดด้วย
22.
การเพิ่มออกซิเจนในน้ำมัน
วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดมลพิษให้กับรถยนต์ ก็คือ
การเพิ่มส่วนผสมของออกซิเจนในน้ำมัน
ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้เป็นจำนวนมาก
23.
อันตรายจากก๊าซเรดอน
ก๊าซเรดอน เป็นก๊าซกัมมันตภาพรังสี มักพบแทรกอยู่ในดินและหิน
มีคุณสมบัติที่สามารถซึมผ่านขึ้นมาบนผิวดิน
และกระจายออกสู่อากาศได้โดยผ่านทางรอยร้าวและโพรงของคอนกรีตบล็อค ตามท่อ
ก๊าซเรดอนเป็นก๊าซที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
24.
พิษของก๊าซเรดอนต่อร่างกาย
ก๊าซเรดอนเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของปอด
การได้รับสารกัมมันตภาพรังสีจากก๊าซเรดอนติดต่อกันนานกว่า 20-30 ปี จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งที่ปอดได้
25.
วิธีป้องกันอันตรายจากก๊าซเรดอน
การป้องกันอันตรายจากก๊าซเรดอน ทำได้โดยการไม่สูบบุหรี่ในบ้าน
หรือในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้น้อย
เปิดหน้าต่างให้มีการถ่ายเทระหว่างอากาศภายในบ้านกับอากาศนอกบ้านทุก ๆ วัน
26.
ปลูกต้นไม้ในห้องช่วยลดมลพิษ
ปลูกต้นไม้ในห้อง โดยปลูกไม้กระถางผสมถ่านกับดิน
ถ่านจะเป็นตัวช่วยดูดซับสารมลพิษและจุลินทรีย์ภายในห้องได้
27.
พิษภัยของฝุ่นฝ้าย
ฝุ่นฝ้ายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคปอดอักเสบ
โดยฝุ่นฝ้ายจะเข้าไปทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกและหัวใจ โปรดป้องกันตนเองจากฝุ่นฝ้ายด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันในการหายใจ
28.
วิธีใช้น้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน
มีสารเคมีมากกว่า 63 ชนิด
ที่ใช้เป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน เช่น น้ำยาถูพื้น
น้ำยาขัดห้องน้ำ โปรดอ่านคำแนะนำในฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง
เพื่อป้องกันตัวเองให้พ้นจากพิษภัยอันตราย
29.
เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิล
เก้าอี้พลาสติกส่วนใหญ่ผลิตขึ้นใหม่จากพลาสติที่ใช้แล้ว เช่น
เก้าอี้พลาสติกที่มีขนาดความยาว 6 ฟุต นั้น
ทำมาจากถังพลาสติก ที่ใช้บรรจุนมเป็นจำนวนถึง 1050 ใบ
30.
รักษาสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นที่ใกล้ตัว
ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น
เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจนถึงพื้นที่ป่าใหญ่ เพื่อปลูกป่า
แต่เราสามารถเริ่มต้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายได้ในพื้นที่ใกล้บ้านเราเอง
31.
พืชท้องถิ่นมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
พืชดั้งเดิมของท้องถิ่นมีความสำคัญต่อระบบนิเวศวิทยา
และมีความเหมาะสมกับสภาพอากาศและดินมากกว่าพืชที่นำเข้ามาจากที่อื่น ๆ ดังนั้น
เราจึงควรต้องช่วยกันป้องกันและอนุรักษ์พืชท้องถิ่นไว้ไม่ให้สูญพันธุ์
32.
รถยนต์ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์
ทุก ๆ ปี รถยนต์คันหนึ่ง ๆ จะผลิต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ออกมาสู่บรรยากาศโลกได้ในปริมาณที่มีน้ำหนักเท่ากับตัวรถเอง
33.
น้ำมันก๊าซโซลีนเผาไหม้เกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์
ทุก ๆ แกลลอน
ของก๊าซโซลีนในรถยนต์ที่ถูกเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนถึง 9000
กรัม กระจายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก
34.
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
การเผาไหม้เชื้อเพลิง จากเชื้อเพลิงฟอสซิล
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด ภาวะปรากฏการณ์เรือนกระจกขึ้น หากสามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากแหล่งอื่น
เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะช่วยลดอุณหภูมิความร้อนที่เกิดขึ้นกับโลกได้
35.
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่แพร่หลายมากที่สุด คือ
เครื่องคิดเลขที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งในแต่ละปี ผลิตออกจำหน่ายถึงกว่า 2,000,000
เครื่อง
36.
การลดการใช้สำคัญกว่าการผลิตใช้ใหม่
การนำของที่ใช้แล้วมาผลิตใช้ใหม่
อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่สำคัญเพราะความสำคัญไม่ได้อยู่ที่วิธีการนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาผลิตใช้ใหม่ได้อีก
แต่สำคัญตรงที่เราควรจะหาวิธีลดการใช้พลาสติกให้น้อยลงต่างหาก
37.
ผักปลอดสารพิษ
เมื่อใดก็ตามที่ได้ลงมือทำสวนครัวด้วยตนเอง
เมื่อนั้นเราจึงจะเชื่อมั่นได้อย่างแน่นอนว่า
เรากำลังมีโอกาสได้กินพืชผักที่ปลอดจากยาฆ่าแมลงแล้วจริง ๆ
38.
สวนสาธารณะของเมือง
สวนสาธารณะนอกจากจะช่วยรักษาพื้นที่สีเขียวแล้ว
ยังทำให้มีพื้นที่โล่งว่างขึ้นในท่ามกลางตึกอาคารสิ่งก่อสร้างที่เติบโตอย่างแออัดในเมืองใหญ่
สวนสาธารณะไม่เพียงจะช่วยให้อากาศบริสุทธิ์
แต่ยังเป็นสัญญลักษณ์จากธรรมชาติให้ผู้คนได้ตระหนักว่า
เมืองมิใช่เป็นที่ตั้งของถนน อาคารระฟ้า และรถยนต์ เท่านั้น
แต่ควรจะเป็นที่อยู่ของธรรมชาติด้วย
39.
ดื่มน้ำสะอาดให้หมดแล้ว
ดื่มน้ำสะอาดให้หมดแก้วทุกครั้งอย่าเหลือทิ้ง
เพราะน้ำสะอาดมีเหลืออยู่น้อยในโลกนี้
และกระบวนการทำน้ำให้สะอาดก็ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา
40.
สมุนไพรแก้กลิ่นอับ
ในห้องที่มีกลิ่นอับ ให้ใช้สมุนไพรแห้ง หรือเครื่องหอมจากดอกไม้แห้ง
ห่อด้วยเศษผ้าที่โปร่งบางแขวนไว้ในห้องที่มีกลิ่นอับ
จะช่วยให้ห้องหายจากกลิ่นอับได้
41.
ปิดเตาอบก่อนอาหารสุก
ทุกครั้งที่ปรุงอาหารด้วยเตาอบ ให้ปิดเตาอบก่อนอาหารสุกประมาณ 2-3
นาที
เพราะความร้อนในเตาอบจะยังคงมีอยู่อย่างเพียงพอที่จะทำให้อาหารสุก
42.
วิธีดูแลรักษาพรม
ดูแลรักษาพรมที่ปูพื้นให้สะอาดด้วยการดูดฝุ่น อย่างสม่ำเสมอ
และในการกำจัดกลิ่นพรม ก็จะต้องใช้ผงเบกกิ้งโซดา (Baking Soda) โรยให้ทั่วพื้นพรม แล้วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
จึงทำการดูดฝุ่น จะทำให้พรมปลอดจากกลิ่นได้
43.
การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์
การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยใช้ผ้าบาง ๆ
ชุบน้ำผสมสบู่ บิดให้หมาดแล้วใช้เช็ดถูเฟอร์นิเจอร์ จากนั้นใช้ผ้าแห้งซ้ำอีกครั้ง
44.
กระดาษใช้แล้วนำมาผลิตใช้ใหม่
การนำกระดาษที่ใช้แล้ว กลับมาผลิตใช้ใหม่ ในจำนวนทุก ๆ 1 ตันนั้น เป็นการช่วยอนุรักษ์ต้นไม้ได้ถึง 17 ต้น
45.
หมั่นปัดฝุ่นจากหลอดไฟ
ให้หมั่นปัดฝุ่นจากหลอดไฟเสมอ ๆ
เพราะฝุ่นและความสกปรกบนส่วนที่เป็นแก้ว จะลดความสว่างของแสงที่ส่องจากหลอดไฟ
ลงไปถึง 33 เปอร์เซ็นต์ทำให้แสงจากหลอดไฟไม่สว่างเท่าที่ควร
46.
คุณค่าของต้นไม้ที่มีอายุกว่า 50 ปี
ต้นไม้ทุกต้นที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
มีคุณค่าในการทำให้อากาศบริสุทธิ์ ควบคุมการกัดเซาะผิวดินและน้ำป่า ปกป้อง
คุ้มครองชีวิตของสัตว์ป่าและสามารถควบคุมมลภาวะ ในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
47.
ต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ต้นไม้ที่อยู่ในสภาพสภาวะสมบูรณ์ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
จากอากาศได้ถึง 40 ปอนด์ ในเวลา 1 ปี
48.
พลังงานจากแก้วรีไซเคิล
พลังงานที่ได้จากการนำแก้วที่ใช้แล้วมาผลิตใช้ใหม่ 1 ใบ นั้น เทียบได้เท่ากับพลังงานของหลอดไฟ 60 วัตถ์
ที่ส่องสว่างได้เป็นเวลานานถึง 4 ชั่วโมง
49.
พลังงานจากกระป๋องรีไซเคิล
พลังงานที่ได้จากการนำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาผลิตใช้ใหม่ 1
ใบนั้น เทียบเท่าได้กับพลังงานแสงสว่างที่ใช้กับทีวีเป็นเวลานานถึง 3
ชั่วโมง
50.
เวลาที่ควรรดน้ำต้นไม้
การรดน้ำต้นไม้ระหว่างเวลา 9 โมงเช้า จนถึง 5
โมงเย็น ปริมาณน้ำที่รดจะสูญเสียไปในการระเหยมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนน้ำที่รด ดังนั้นเวลาที่ควรรดน้ำต้นไม้ที่ดีที่สุด
คือ เวลา หลัง 6 โมงเย็น หรือก่อน 9 โมงเช้า
51.
เงาต้นไม้ประหยัดพลังงาน
เงาของต้นไม้ช่วยลดความต้องการเครื่องปรับอากาศลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และในฤดูร้อนต้นไม้จะทำให้เมืองเย็นลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์
52.
คุณทำอย่างไรกับใบไม้ที่กวาดแล้ว
การเผาเศษใบไม้ทุก ๆ 1 ตัน
จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ถึง 117 ปอนด์ ฝุ่น 41
ปอนด์ และคาร์ซิโนเจน 7 ปอนด์ หรือมากกว่านั้น
เศษใบไม้ที่กวาดแล้วควรนำมาทำปุ๋ยหมักหรือสุมไว้โคนต้นไม้
เพื่อให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย ต่อไป
53.
หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงาน
การใช้หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน 1 หลอด
แทนการใช้หลอดไฟฟ้าแบบฟลูออเรสเซนต์ จะช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นปริมาณเท่ากับ
ถ่านหินหนัก 600 ปอนด์ ตลอดชั่วอายุของหลอดไฟฟ้าตลอดนั้น
54.
วิธีลดมลพิษจากรถยนต์
วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดมลพิษจากรถยนต์
ก็คือการเพิ่มส่วนผสมของออกซิเจนในน้ำมัน การเพิ่มออกซิเจนในน้ำมันก็เพื่อช่วยลดปริมาณการเกิดของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
ให้ลดน้อยลง
55.
ทำอย่างไรกับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว
น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วจากรถยนต์ จะก่อมลภาวะให้เกิดกับแหล่งน้ำ
และผิวดินได้หากมีการกำจัดที่ไม่เหมาะสม ทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
ให้ถ่ายเทน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วลงในภาชนะที่ปิดฝา แล้วส่งคืนให้กับสถานีบริการ
56.
มลพิษจากเตาแก๊ส
แหล่งมลพิษของอากาศในบ้านที่สำคัญ ก็คือ
เตาแก๊สในห้องครัวที่ไม่มีช่องหรือระบบระบายอากาศ
จะเป็นแหล่งสะสมของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกิดจากเตาแก๊ส
สารมลพิษในห้องครัวจะลดลงได้ด้วยการระบายอากาศที่ดี
57.
วิธีปลูกต้นไม้ในอาคาร
การปลูกต้นไม้ไว้ในอาคาร วิธีการที่เหมาะสมคือ
การปลูกลงในกระถางที่ผสมถ่านกับดินไว้ด้วยกัน ถ่านจะเป็นตัวช่วยดูดซับสารมลพิษ
และจุลินทรีย์ได้
58.
ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
ในอาคารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
จะต้องทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศบ่อย ๆ และไม่ควรใช้ยากำจัดกลิ่นหรือแอร์เฟรชเชอเนอร์
59.
ถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน
ทุกครั้งก่อนจะเข้าบ้าน ต้องถอดรองเท้าไว้ที่หน้าประตูบ้าน
จะต้องไม่ใส่รองเท้าเข้าบ้าน เพราะพื้นรองเท้าเป็นที่รวมของสารพิษทั้งหลาย
ที่เราไปเหยียบย่ำมาจากที่ต่าง ๆ
60.
ส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
โดยส่วนความสมดุลย์ของธรรมชาติ จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
อยู่เป็นประมาณ 0.03% ของบรรยากาศ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไว้
ทำให้โลกมีความอบอุ่นที่พอเหมาะ
61.
ทำไมโลกจึงร้อนขึ้น
กิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ได้เป็นสาเหตุของการเพิ่มความร้อนให้กับโลก
ได้แก่ การเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิง การเผาป่าเขตร้อนของโลก
ได้ทำให้ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ในบรรยากาศ
โลกจึงร้อนขึ้น
62.
วิธีหยุดความร้อนให้กับโลก
เราสามารถหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ด้วยการลดการใช้พลังงานที่ก่อให้เกิดความร้อนให้น้อยลง และต้องหยุดการเผาทำลายป่าลงให้ได้
ณ ทุกหนทุกแห่งของพื้นพิภพนี้
63.
ปลูกป่าเพื่อให้โลกร่มเย็น
เพื่อให้โลกเย็นลง
เราทุกคนจะต้องช่วยกันปลูกป่าคลุมพื้นที่ว่างเปล่าให้ได้มากที่สุด
เพราะป่าเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดีที่สุดของโลก
64.
สารอันตรายในถ่านอัลคาไลน์
ถ่านอัลคาไลน์เป็นถ่านที่ใช้ใส่กล้องถ่ายรูป ไฟฉาย นาฬิกา
เครื่องคิดเลขที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งจัดเป็นของเสียที่เป็นอันตรายเพราะมีส่วนประกอบของสารอันตราย
ได้แก่ แมงกานีส สังกะสี และปรอท
65.
การเลือกใช้ถ่านแคดเมี่ยมแทนถ่านอัลคาไลน์
ควรเลือกใช้ถ่านแคดเมี่ยมแทนการใช้ถ่านอัลคาไลน์
เพราะถ่านแคดเมี่ยมเมื่อใช้หมดแล้วสามารถนำมาชาร์ตไฟใหม่ใช้ได้อีก
ในขณะที่ถ่านอัลคาไลน์ใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็ต้องทิ้ง
66.
อ่านคำอธิบายก่อนใช้
ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย
ควรอ่านคำอธิบายให้เข้าใจก่อนใช้ทุกครั้ง และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต
ของตัวเอง
67.
การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
ทุกครั้งที่เลือกซื้ออาหารกระป๋อง
จะต้องตรวจหาวันหมดอายุที่บอกไว้บนภาชนะบรรจุสินค้านั้น ๆ
และควรซื้ออาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุเท่านั้น
68.
อันตรายจากอาหารกระป๋องที่หมดอายุ
อย่าซื้ออาหารกระป๋องที่หมดอายุแล้ว
เพราะอาหารกระป๋องที่หมดอายุแล้วจะเป็นสาเหตุของพิษภัยอันตรายต่อร่างกาย เช่น
มะเร็งที่ตับ โปรดระมัดระวังทุกครั้งที่ซื้ออาหารกระป๋อง เพราะที่หมดอายุแล้ว
มักถูกนำมาลดราคาให้ถูกนำชวนซื้อ
69.
แอมโมเนียในน้ำยาซักล้าง
ในน้ำยาซักล้างทุก ๆ ชนิด เช่น น้ำยาล้างกระจก น้ำยาย้อมผม
น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ จะมีส่วนประกอบของแอมโมเนียอยู่ด้วย
โปรดใช้อย่างระมัดระวังทุกครั้ง เพราะแอมโมเนียมีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ
70.
สารฟอร์มาลดีไฮด์
ในไม้อัด เสื้อผ้าใหม่ ๆ และน้ำยาล้างเล็บ จะมีสารฟอร์มาลดีไฮด์
เป็นสารประกอบอยู่ด้วย สารฟอร์มาลดีไฮด์จะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ
ฉะนั้นโปรดระมัดระวังทุกครั้งที่ใช้
71.
บรรจุภัณฑ์ถนอมอาหาร
มีอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ที่ต้องอาศัยบรรจุภัณฑ์
ที่ช่วยในการถนอมอาหารเพื่อรักษาความกรอบของอาหารบรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการห่อหุ้มอาหาร
72.
บรรจุภัณฑ์ที่ฟุ่มเฟือย
ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ได้ถูกนำมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยจนเกินความจำเป็น
และได้กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาล
ฉะนั้นโปรดช่วยกันลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ด้วยการไม่ซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย
เกินความจำเป็น
73.
ผลิตภัณฑ์เข้มข้นช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์ได้
ผลิตภัณฑ์บางชนิดที่พัฒนาการผลิตให้เข้มข้น
ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำไปเจือจางก่อนใช้เป็นการช่วยลดปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์ได้
74.
ใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษแทนการใช้พลาสติกและโฟม
ปัจจุบันมีการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษ
เพื่อใช้บรรจุอาหารแทนบรรจุภัณฑ์พลาสติกและโฟม เช่น กล่องบรรจุน้ำผลไม้ นม เป็นต้น
75.
บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้
ควรเลือกซื้อสินค้าที่บรรจุในภาชนะที่สามารถนำกลับไปผลิตใช้ได้ใหม่
ดีกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วต้องทิ้ง
76.
ควรเลือกซื้อสินค้าที่บรรจุกระป๋องอลูมิเนียมและแก้ว
ควรเลือกซื้อสินค้าที่บรรจุในกระป๋องอลูมิเนียมหรือแก้ว
แทนสินค้าที่บรรจุในภาชนะพลาสติกและโฟม
เพราะอลูมิเนียมและแก้วสามารถนำกลับไปผลิตใช้ได้ใหม่อีก
77.
การเลือกซื้อ
ไม่ควรเลือกซื้อสินค้าที่ถูกบรรจุหรือหุ่มหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์
ที่ฟุ่มเฟือยมากเกินไป
78.
ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเข้มข้น
ควรซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเข้มข้นแล้วนำไปเจือจางเอง
โดยการเติมน้ำก่อนใช้เป็นการประหยัดภาชนะบรรจุได้
79.
ซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น
ควรเลือกซื้อสินค้าเท่าที่ต้องการและใช้ให้หมด
80.
สินค้าปลอดสารพิษ
ควรเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดสารพิษเท่านั้น
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพร่างกายของตัวท่านเอง
81.
คุณสมบัติของสารละลาย
สารละลายเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการละลายวัตถุอื่น ๆ
โดยปรกติแล้วสารละลายนี้จะอยู่ในรูปของเหลว เช่น
ผสมอยู่ในทินเนอร์ที่ใช้ผสมสีและอยู่ในแลคเกอร์
82.
วิธีป้องกันอันตรายจากสารละลาย
ส่วนประกอบของสารเคมีในสารละลาย เป็นอันตรายโดยตรงต่อดวงตา
ผิวหนังและปอด
ทุกครั้งที่ต้องใช้สารละลายควรจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว
สวมถุงมือ ใส่แว่นตา และใช้สารละลายในที่ที่เปิดโล่งเท่านั้น
83.
ในห้องปรับอากาศควรระบายอากาศ
ในห้องปรับอากาศควรเปิดหน้าต่างให้อากาศระบายได้ในบางช่วง
และควรเปิดพัดลมดูดอากาศด้วยทุกครั้งที่เปิดแอร์
84.
ผลิตภัณฑ์อันตรายไม่ควรทิ้งลงแม่น้ำ
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายได้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ติดไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำยาละลายสี ผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรด น้ำยาทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษ เช่น
ยากำจัดศัตรูพืช เมื่อใช้แล้วต้องมีวิธีกำจัดที่ถูกต้องและต้องไม่ทิ้งลงแม่น้ำ
85.
สารอันตรายไดออกซิน
สารพิษที่มีอันตรายมากที่สุดที่เป็นส่วนประกอบของยาฆ่าแมลงคือ
ไดออกซิน ไดออกซินแม้เพียงจำนวนเล็กน้อย ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้
จึงไม่ควรใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่มีส่วนผสมของไดออกซิน
86.
อันตรายจากเบนซิน
เบนซินเป็นตัวทำละลายที่มีพิษต่อร่างกายที่รุนแรงที่สุด คือ
เป็นต้นเหตุของการป่วยเป็นโรคลูคีเมียและทำลายไขกระดูก
87.
ช่วยกันปลูกต้นไม้อีก 5 เท่าจึงจะเพียงพอ
ในปริมาณการใช้ไม้และจำนวนพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง
ในปัจจุบันนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการปลูกต้นไม้โตเร็วมากกว่าที่ปลูกอยู่ในปัจจุบันมากถึง
5 เท่า จึงจะเพียงพอกับการใช้ประโยชน์ในอนาคต
88.
ไฮโดรเจนคือพลังงานทดแทน
ไฮโดรเจนเป็นพลังงานทดแทนที่ได้มาจากการแยกละลายสาร เช่น
ไฟฟ้าจากน้ำ ไฮโดรเจนจัดเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศด้วย
89.
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า
โลกได้ผลิตรถยนต์ชนิดใหม่เพื่อลดมลพิษให้กับท้องถนน
รถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่นี้ขับเคลื่อนโดยขบวนการเปลี่ยนไฮโดรเจนเหลว
ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องผ่านขบวนการเผาไหม้
90.
ลักษณะของรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเหลว
รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเหลวนี้มีลักษณะเดียวกับรถไฟฟ้า
แต่แตกต่างกันตรงที่มีถังเก็บไฮโดรเจนเหลวแทนแบตเตอรี่
ปัจจุบันพลังงานไฮโดรเจนเหลวกำลังได้รับการพัฒนารูปแบบเพื่อที่จะนำมาใช้บนท้องถนนแล้ว
91.
รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเหลวไม่ก่อมลพิษ
รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเหลวไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม
เพราะไฮโดรเจนเหลวที่ใช้กับตัวรถได้มาจากแหล่งที่สะอาด
92.
หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์
หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอดไฟฟ้าที่สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึง
75% และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดแบบขดลวดถึง 10
เท่า
93.
วิธีลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับโลก
หากเราเผาถ่านให้น้อยลงและเผาพลาญน้ำมันให้น้อยลง
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่น ๆ
ที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกขึ้นกับโลกก็จะลดน้อยลง
94.
ขยะกระดาษ
ทุก ๆ อาทิตย์เราทิ้งกระดาษลงตระกร้าขยะมากถึง 1,000 ตัน แต่มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ที่กระดาษเหล่านั้นถูกนำกลับมาผลิตใช้ได้ใหม่อีก
95.
อันตรายจากสีทาบ้าน
ในสีน้ำมันที่ใช้ทาบ้านนั้นมีส่วนประกอบของแคดเมี่ยมและไททาเนี่ยมออกไซด์
ไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นสารที่มีอันตราย
ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารอันตรายควรใช้สีน้ำในการทาสีบ้าน
96.
การเติมลมยางรถช่วยประหยัดน้ำมัน
ในการบำรุงรักษารถ การเติมยางรถที่พอดีจะช่วยในการประหยัดน้ำมันได้
การเติมลมยางรถถ้าเติมอ่อนเกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5
ตามการหมุนรอบของวงล้อที่เพิ่มขึ้น
97.
เติมลมยางรถช่วยยืดอายุยางรถยนต์
การเติมลมยางรถยนต์ที่พอเหมาะพอดียังช่วยยืดอายุการใช้งาน
ช่วยป้องกันไม่ให้ยางรถยนต์ฉีกขาดได้ง่ายจากสาเหตุที่เติมลมอ่อนหรือแข็งเกินไปอีกด้วย
98.
เตาไมโครเวฟประหยัดไฟกว่าเตาอบ
การใช้เตาไมโครเวฟ จะช่วยประหยัดพลังงานจากไฟฟ้ามากกว่าเตาอบถึง 1-2
เท่า
99.
ถ่านไฟฉายที่ชาร์ตไฟใหม่ได้ประหยัดกว่าถ่านไฟฉายธรรมดา
ถ่านไฟฉายที่ชาร์ตไฟได้ใหม่นั้นแม้จะมีส่วนประกอบของแคดเมี่ยม
แต่ก็มีอายุการใช้งานได้นานกว่าถ่านไฟฉายแบบธรรมดาถึง 500 เท่า
และช่วยลดปริมาณการใช้ถ่านธรรมดาได้มากที่สุด
100.
อันตรายจากน้ำยาปรับอากาศ
ในน้ำยาปรับอากาศแอร์รีเฟรชเชอเนอร์นั้น
มีส่วนประกอบของสารเคมีประเภทอเทอนอล ไซลีน
ซึ่งเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์
ที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=993656