ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก
การรวมตัวกันอย่างหนาแน่นของแก๊ส
จากการอุตสาหกรรม และควันพิษที่เกิด ขึ้นในอากาศที่พวกเราหายใจ เข้าไป
ได้สั่งสมเพิ่มพูน สูงถึงบรรยากาศชั้นบน สิ่งนี้ได้ก่อ
ให้เกิดวิกฤตการณ์พร้อมกันทีเดียว 3
อย่าง อันได้แก่ ฝนกรด ชั้นโอโซนถูกทำลาย และเกิดอากาศร้อนขึ้นทั่วโลก
หรือเป็นตัวการก่อให้เกิด "ปรากฏการณ์เรือนกระจก"แต่ละอย่าง ที่กล่าวมา
แล้วนั้นสามารถก่อให้เกิดผลที่เป็น อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจนทำให้ถึงตายได้ยิ่ง
เมื่อทั้ง 3 ปรากฏการณ์ มารวมกันแล้ว
มันสามารถคุกคามโลกได้มากเท่า ๆ กับสงครามนิวเคลียร์เลย ทีเดียวก๊าซที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทั้ง
3 อย่าง ได้แก่
- ซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์
- ไนโตรเจนอ๊อกไซด์
- คาร์บอนไดอ๊อกไซด์
- คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน
(CFCS)ภาวะเรือนกระจก หมายถึง ภาวะที่แสงอาทิตย์ผ่านลงมาและ
ก๊าซคาร์บอน ไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่น ๆ ที่พอกพูนอยู่ในบรรยากาศระดับต่ำ
จะตัดความร้อนเอาไว้ ไม่ให้สะท้อนออกไป ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เหมือนกับ
เรือนกระจก ที่ใช้ปลูกต้นไม้ในเมืองหนาวก๊าซที่พบในเรือนกระจก ได้แก่
คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน
แก๊ส) ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และควัน จากยานพาหนะ
ก๊าซมีเธน
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ โดยการกระทำของของแบคทีเรีย
มักเกิดในที่มีน้ำขัง ท้องนาที่น้ำท่วมขัง ลมหายใจของวัวและตัวปลวก
การเผาฟืนและป่าไม้ มีระดับการเพิ่มราวหนึ่งเปอร์เซนต์ทุก ๆ ปี
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน
ซึ่งใช้เป็นน้ำยาทำความเย็นใช้ทำความสะอาดและใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับทำโฟมพลาสติก
เพิ่มขึ้น ปีละราว 5 เปอร์เซ็นต์
ก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ก๊าซส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากปุ๋ย ซึ่งมีไนโตรแจนเป็นส่วนผสมสำคัญ
นอกจากนี้ยังเกิดจากการเผาถ่านหิน และเชื้อเพลิงที่เป็น ฟอสซิลอื่น ๆ
รวมทั้งน้ำมันเบนซินด้วยก๊าซต่าง ๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติสามารถดูดซับรังสีอินฟาเรด
(รังสีที่มองไม่เห็น ปกติจะทำหน้าที่นำเอาความร้อน ส่วนเกินจากโลกขึ้นสู่อวกาศ)
ได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านส่วนประกอบทางเคมีของบรรยากาศ
ประมาณว่า ถ้าก๊าซเหล่านี้ มีปริมาณมากขึ้นเท่าใด
ก็จะเป็นตัวเร่งที่ทำให้อากาศร้อนยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก
ความร้อนของอากาศที่มีอยู่ในโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก
ส่งผลต่อประเทศที่เป็นหมู่เกาะและชายฝั่งทวีป
ตลอดจนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใช้สำหรับเป็นที่ผลิตอาหารจะจมอยู่ใต้ทะเลภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงมากขึ้น
เช่น ความรุนแรงของพายุจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวหน้าของทะเล
ถ้าอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นอีก ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนจะเพิ่มขึ้นอีก 40-50 %ฝนกรด
ฝนกรดเกิดจากชั้นบรรยากาศที่ถูกมนุษย์ปล่อยสิ่งสกปรกไป สะสมไว้ที่ชั้น บรรยากาศ
เช่น ควัน เขม่า ละอองไอเสีย ก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม จากเครื่องยนต์
ซึ่งก๊าซบางอย่างไปรวมตัวกับน้ำในบรรยากาศ ทำให้เกิดกรดขึ้น เช่น ซึ่งกรดทั้ง 3 ตัวนี้เป็นกรดแก่ ทำให้น้ำฝนเป็นกรด
ผลกระทบจากฝนกรด
ผู้ที่ใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม น้ำใช้
จะมีผลต่อสุขภาพเพราะฝนกรดเหล่านี้อาจทำให้เกิดพิษภัย ต่อผู้บริโภค เช่น
ทำให้เป็นโรคกระเพาะ เป็นมะเร็ง อันเนื่องมาจากกรดซัลฟูริค เป็นต้น ฝนกรดจะทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน
เช่น ไนเตรต ฟอสเฟต ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเพาะปลูก
เช่นปลูกพืชผักไม่ขึ้น ได้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ เพราะฝนกรดทำให้ดินเปรี้ยว จุลินทรีย์หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช
ถูกทำอันตรายต่อความ เป็นกรดทั้งสิ้น พืชต้องอาศัย จุลินทรีย์จากดิน เช่น
สารอินทรีย์โมเลกุล ใหญ่จะต้องถูกสลายให้เป็นโมเลกุลเล็ก พืชจึงจะดูดเข้าไปใช้ได้
หรือพืชจะต้องอาศัยอนุมูลแอมโมเนียที่จุลินทรีย์ดึงมาจากอากาศ ดังนั้น
การที่มีกรดในน้ำฝนจึงลดความเจริญของจุลินทรีย์ในดิน
ยังผลกระทบกระเทือนไปถึงพืชอีกด้วยฝนกรดทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด
คือ จะกัดกร่อนทำลายพวกโลหะ เช่น เหล็กเป็นสนิมเร็วขึ้น สังกะสีมุงหลังคาที่ใกล้ ๆ
โรงงานจะ ผุกร่อนเร็ว สังเกตได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้แอร์ ตู้เย็น หรือวัสดุอื่น
ๆ เช่น ปูนซีเมนต์หมดอายุเร็วขึ้น ผุกร่อนเร็วขึ้น เป็นต้นฝนกรดจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
เช่น ปู หอย กุ้งสูญพันธุ์ไปได้ เพราะ ฝนกรดที่เกิดจากก๊าซัลเฟอร์ไดอ๊ออกไซด์และเกิดจากก๊าซไนโตรเจนอ๊อกไซด์
พวกนี้จะทำให้น้ำในแม่น้ำ ทะเลสากลายเป็นกรด ทำให้สัตว์น้ำดังกล่าวตาย เช่น
อเมริกาตอนกลาง ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำลดลง ทำให้ทะเลสาบ 85 แห่งไม่มีปลา และทะเลสาบในประเทศวีเดน 15,000 แห่ง ไม่มีปลา และนับวันจะปราศจากปลามากขึ้น ทะเลสาบางแห่ง
ป้องกันฝนกรดได้ เพราะในทะเลสาบนั้นมีสารพวกไบคาร์บอเนตละลายอยู่
หรือบางแห่งมีธาตุทางธรณีวิทยาชั้นโอโซนรั่ว เมื่อปีที่แล้ว
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาบรรยากาศเหนือขั้วโลกใต้ พบว่าปริมาณโอโซนที่
ครอบคลุมโลกชั้นสูงประมาณ 10-15 ไมล์ มีปริมาณ
ลดลงอย่างน่าวิตก เหลือเพียง 1 ใน 3
ของระดับปกติ หลายคนอ่านข่าวนี้แล้วผ่าน เลยไป คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว
ประเทศไทยอยู่ห่างขั้วโลกเหลือเกิน ไม่น่าจะมี ผลกระทบกระเทือนมาถึง
จึงไม่ต้องวิตกกังวล นับว่าเป็นความคิดที่ผิด แม้ช่องโหว่
ของโอโซนจะเกิดขึ้นแถบขั้วโลกใต้ ก็มีผลต่อชาวโลกทุกคน และผู้บริโภคทุกคนอาจ
จะช่วยกันแก้ไขให้ปัญหานี้ลดลงได้ หากละเลยไม่ช่วยกันแก้ไขเสียตั้งแต่บัดนี้
เพียงชั่วลูกหลาน ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้น โอโซน
เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยอ๊อกซิเจนสามอะตอม ในบรรยากาศเหนือโลก ชั้น โอโซนที่
ครอบคลุมโลกช่วยป้องกันรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มิให้มาถึงโลก มากเกินไปบนพื้นโลก
โอโซนเป็นก๊าซเสียจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม โอโซนบนผิวโลก
ไม่อาจลอยขึ้นไปทดแทนบรรยากาศชั้นบน ได้แต่วนเวียนอยู่บน พื้นโลก เพียงไม่กี่วัน
ก็สลายตัวกลายเป็น ออกซิเจน โอโซนส่วนใกล้พื้นดินนี้มีน้อย เกินไป
และไม่ช่วยป้องกัน รังสีอุลตราไวโอเลต ในแสงจากดวงอาทิตย์มีรังสี หลายอย่าง
รังสีที่อันตรายที่สุดได้แก่ รังสีอุลตราไวโอเลตบี (UV-B) ประมาณว่าถ้าปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ
ที่ครอบคลุมโลกลดลงหนึ่งเปอร์เซนต์ จะทำ ให้รังสีอุลตราไวโอเลตผ่านมาถึงพื้นโลก
ได้มากขึ้นถึงสองเปอร์เซนต์ ซึ่งมีผลกระทบ กระเทือนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก ต้นเหตุที่ทำให้ปริมาณโอโซนลดน้อยลง
เป็น สารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายอย่าง ในครอบครัวและอุตสาหกรรมชื่อว่า
คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ ซีเอฟซี เป็นสารที่คงตัว ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สูญหาย ค่อย
ๆลอยขึ้นไปบนฟ้า กว่าจะถึงบรรยากาศชั้นบนก็กินเวลาหลายปี
ซีเอฟซีถูกรังสีอุลตราไวโอเลตจะสลายตัวได้ธาตุคลอรีน ฟลูออรีนและคาร์บอน
ธาตุคลอรีนนี้เอง จะทำลายโอโซนในชีวิตประจำวันของเราใช้สารซีเอฟซีหลายอย่าพื้นรองเท้าอาจทำด้วยสารนี้
ใช้คอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์ที่ต้องใช้สารนี้ในขบวนการผลิต
ใช้เครื่องมือแพทย์ที่ใช้สารซีเอฟซีช่วยในการฆ่าเชื้อ
ใช้สเปรย์ที่ใช้สารนี้เป็นสารขับเคลื่อน
มีผู้แนะนำว่า
ควรจะใช้สารอื่นแทนซีเอฟซี แต่เนื่องจากสารนี้มีคุณสมบัติดี หลายประการ ได้แก่
คงทน ไม่ทำให้เป็นสนิม ไม่ติดไฟ จึงยังไม่อาจหาสารใดมา ทดแทนได้ดีเท่า
กว่าผู้นำทาง อุตสาหกรรมจะค้นคว้าหาสารอื่นมาใช้แทน สารซีเอฟซี สารซีเอฟซีที่ใช้กันปัจจุบันคงจะมีผล
ต่อเนื่องสามารถทำลายโอโซนใน บรรยากาศ ต่อไปอีกในสิบปีข้างหน้า
การแก้ปัญหานี้จะต้องช่วยกันหลายฝ่ายและร่วมมือกันเป็นเวลานาน
ภัยจากรังสีอุลตราไวโอเลต
ผลผลิตจากากรเกษตรลดน้อยลง
: สัตว์และพืชเซลล์เดียว จะดูดซับรังสีมากขึ้น พืชเซลล์ เดียว เป็นอาหารของสัตว์น้ำซึ่งเป็นอาหารโปรตีนสำคัญของชาวโลก
เมื่อพืช ได้รับรังสี อุลตราไวโอเลตนี้มากขึ้น จะทำให้การสังเคราะห์แสง ลดลง
จากการ ทดลองพบว่าพืชหลาย ชนิด เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี และถั่วเหลืองจะเติบโตช้า
ได้ผลต่ำลง และมีสารอาหารน้อยลง ในขณะเดียวกัน วัชพืชที่ได้รับแสง
อุลตราไวโอเลตจะเติบโต อย่างรวดเร็วมนุษย์จะเป็นต้อและมะเร็งที่ผิวหนังมากขึ้น :
มนุษย์เรามีเม็ดสีใต้ผิวหนังที่ช่วย ป้องกัน มิให้ร่างกายดูดซึมรังสีมากเกินไป
ภายในดวงตา เยื่อเลนส์ตาช่วยไม่ให้รังสี ผ่านเข้าไปถึง ส่วนเรตินาของตา
หากรังสีอุลตราไวโอเลตมาถึงพื้นโลกมากขึ้น ผิวหนัง
ได้รังสีมากเกินจะทำให้เป็นโรคมะเร็งที่ผิวหนัง ซึ่งบางชนิดอาจ รักษาให้หายขาดได้
แต่บางชนิดร้ายแรง จนทำให้เสียชีวิตหากตาได้รับรังสีมากเกินไป อาจทำให้เลนส์เป็น
ฝ้า มองเห็นไม่ถนัดในที่สุดก็ กลายเป็นต้อ นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่า
รังสีอุลตราไวโอเลต อาจมีผลต่อ ภูมิต้านทานโรคด้วย
การร่วมแก้ไขปัญหาด้วยตัวคุณ
ลดการใช้ภาชนะโฟม
ใช้ตู้เย็นที่มีอยู่ในปัจจุบันให้นานที่สุด
จนกว่าจะหาสารอื่นมาใช้เป็นน้ำยา ตู้เย็นแทนได้
ควรทำความสะอาดตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้น้ำแข็งเกาะหมั่นตรวจสอบยางรอบตู้เย็น
อย่าปล่อยให้ชำรุด เพื่อให้ตู้เย็นทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพที่สุดอย่าปล่อยให้น้ำยาเครื่องปรับอากาศรั่ว
ทั้งในรถยนต์และในบ้าน ในต่างประเทศ แต่ก่อนเวลาเอารถเข้าอู่เพื่อเปลี่ยนน้ำยาใเครื่องปรับอากาศ
จะปล่อยให้น้ำยาเดิมกระจายระเหยไปในอากาศแล้วใส่น้ำยาใหม่ ในปัจจุบัน
นำน้ำยาเก่ามาใช้ใหม่ได้
พยายามไม่ใช้สเปรย์ที่ใช้สารซีเอฟซีเป็นสารขับเคลื่อน
เช่น ใช้สเปรย์ผมน้อย ลง ใช้น้ำมัน หรือเยลช่วย
ไม่ใช้ยาระงับกลิ่นตัวที่เป็นสเปรย์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์จาก
ต่างประเทศหลายอย่างมีสลากบอกว่าใช้ซีเอฟซีเป็น สารขับเคลื่อน จึงควรหลีก เลี่ยง
ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อนึ่ง ปริมาณโอโซนไม่ได้ลดลงเฉพาะในบริเวณ
เหนือขั้วโลกใต้เท่านั้น บริเวณเหนือขั้วโลกเหนือก็ลดลงแล้วและในส่วนต่างๆของ
โลกที่มีแหล่งชุมชนหนาแน่นก็มีแนวโน้มว่า ปริมาณโอโซนจะลดลง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหานี้
ที่มา http://www.deqp.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น